เป้าหมาย (Understanding Goal)
เพื่อให้เข้าใจพร้อมทั้งสามารถอธิบายเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และผลกระทบจากสื่อโฆษณาและข้อมูลสารสนเทศต่างๆ รู้เท่าทันและวิเคราะห์สื่อได้อย่างมีวิจารณญาณรวมทั้งสร้างสรรค์สื่อสีขาวและการใช้ชีวิตได้อย่างถูกสุขภาวะ

Week1

เป้าหมายรายสัปดาห์ เข้าใจและเกิดฉันทะที่อยากเรียนรู้รวมทั้งอธิบายและให้เหตุผลเกี่ยวกับสื่อต่างๆ ที่เป็นปัญหาในปัจจุบันได้

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สัปดาห์ที่ 1
Week
Input
Process
Output
Outcome







1

26-30 ธ.ค. 2558

โจทย์
สร้างแรงบันดาลใจ /สร้างฉันทะ

Key  Question
   นักเรียนได้เรียนรู้อะไร? จากการดูคลิป การอ่านข่าวหรือบทความ?

เครื่องมือคิด
Round Rubin ร่วมพูดคุยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ/ข่าว โฆษณา
Place mat วิเคราะห์ข่าวการใช้สื่อในสังคมปัจจุบัน
Round table เขียนความคิดเห็นจากการดู การอ่าน
Show and Share นำเสนอถ่ายทอดความเข้าใจจากชิ้นงาน

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศในห้องเรียน
- ข่าว / บทความชวนคิด 2 ด้าน สองมุมมอง
- คลิปจากช่วงของละคร
- สารคดี สื่อสร้างสรรค์ สสส. ตอน สื่อสร้างสรรค์สังคม

จันทร์
ชง : นักเรียนดูสารคดี สื่อสร้างสรรค์ตอน สื่อสร้างสรรค์สังคม
-  ครูเปิดคลิปจากช่วงของละครที่เกิดความรุนแรง / คลิปตีแผ่สังคมก้มหน้า / เด็กใช้สื่ออย่างขาดวิจารณญาณ
เชื่อม : นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นจากสื่อโฆษณาดังกล่าว
อังคาร
ชง : ครูให้นักเรียนอ่านข่าวและร่วมวิเคราะห์ข่าว / อ่านบทความที่ครูเตรียมมาและให้นักเรียนวิเคราะห์บทความชวนคิดสื่อ 2 ด้าน - สองมุมมอง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด "นักเรียนได้เรียนรู้อะไร? จากการดูคลิป การอ่านข่าวหรือบทความ?" 
ใช้ : นักเรียนจับกลุ่มทำงานกลุ่มย่อย ร่วมกันวิเคราะห์ทำภาระงานผ่าน Place mat
เชื่อม : นักเรียนแต่ละกลุ่ม ร่วมนำเสนอชิ้นงาน Place mat การวิเคราะห์จากการดูคลิป การอ่านข่าวหรือบทความ
พุธ
ชง : ครูให้นักเรียนอ่านบทความ / ข่าว เกี่ยกับถูกหลอก ฉ้อฉลผ่านสื่อประเภทต่างๆ
เชื่อม : นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็น (Round Rubin)
ศุกร์
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด "นักเรียนคิดว่าจากคลิปที่ได้ดู บทความ/ข่าวได้วิเคราะห์ นักเรียนรู้อะไร? และสิ่งใดที่สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้?"
เชื่อม : นักเรียนร่วมกันเขียนแสดงความคิดเห็น (Round table)
 - สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
- นักเรียนร่วมเขียนสรุปสิ่งที่ได้รับชม
- วิเคราะห์/ ระดมความคิดทำชิ้นงานผ่านPlace mat
- นำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้จากภาพยนตร์/สารคดีที่ได้ดู


ชิ้นงาน
- เขียนสรุปสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้/ความรู้สึก
- place mat วิเคราะห์ข่าว/โฆษณา
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจและเกิดฉันทะที่อยากเรียนรู้รวมทั้งอธิบายและให้เหตุผลเกี่ยวกับสื่อต่างๆ ที่เป็นปัญหาในปัจจุบันได้ 

ทักษะ
ทักษะชีวิต
การเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
เข้าใจและมีเป้าหมายในการเรียนรู้สิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม 
ทักษะการเรียนรู้
 เรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทำงานร่วมกับเพื่อนๆ ปรึกษาเลือกหัวข้อโครงงาน และช่วยเหลือซึงกันและกันในขณะที่ทำงาน
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์สื่อ(คลิป โฆษณา ข่าว/บทความ)

คุณลักษณะ
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
 - สร้างสรรค์และสรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้จากกระบวนการเรียนรู้
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน



ตัวอย่างกิจกรรม
เริ่มต้นด้วยการเรียนรู้เกี่ยวกับสื่อ โดยการสร้างแรงบันดาลใจ เริ่มจากสื่อโฆษณาวิทยุ ให้เห็นมุมมอง 2 ความคิดเห็น เกี่ยวกับกรณีรถที่เปิดไฟไซเรน (อ.วีระกับคุณบินฑ์) และคุณครูเล่าเรื่องข่าวที่เกิดขึ้นจริงในเร็ววัน เกี่ยวกับกรณีนางงามจากกองขยะ ที่ถูกยึดมงกุฎจากคณะกรรมการที่กรอกข้อมูลเท็จที่เรียนเพียงจบ ม.3 

_ครูให้นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์จากข่าวทั่ง 2 กรณี โดยครูให้ร่วมกันวิเคราะห์เป็นกลุ่มย่อย ให้เพื่อนๆ แต่ละคนเติมเต็มข้อมูลกันและกัน ครูให้แต่ละกลุ่มนำเสนอ(Show and Share) ชิ้นงานจากความเข้าใจของแต่ละกลุ่ม โดยเพื่อนๆ ซักถามตรวจสอบสิ่งที่อยากรู้อีกครั้ง / คุณครูช่วยค่อยอำนวยการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นตลอดชั่วโมง
ในชั่วโมงสร้างแรงอีกคาบครูให้นักเรียนดูคลิป “พฤติกรรมการเล่นเกมส์ของเด็ก”  ผลกระทบที่สะท้อนให้เห็นถึงผลและสาเหตุที่เด็กติดเกมส์ สถาบันครอบครัวมีปัญหา ทำให้เด็กไม่สามารถเผชิญปัญหาและทางเลือก เป็นการกระตุ้นให้เด็กเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นทางความรู้สึกและความคิด 



ของแต่ละคนที่เห็นจากเหตุการณ์สั้นๆ จากนั้นครูกระตุ้นด้วยคำถามหลังตากดูจากคลิป คือ
1.เกิดอะไรขึ้นในคลิป ?
2. ผลกระทบที่ตามมาคืออะไร ?
3. สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างไร ?
เพื่อให้พี่ ม.1 เกิดความใคร่รู้
จากนั้นแบ่งนักเรียนให้พี่ๆ ม.1แบ่งกลุ่มกลุ่มละ 4 คน ครูแจกกระดาษ A3 ให้แต่ละคนตอบคำถาม ผ่าน Place Mat โดยครูให้เวลาประมาณ 5 นาที จากนั้นเวียนกันอ่าน พร้องกับจัดระบบข้อมูลคำตอบ ก่อนนำเสนอนำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนวิธีการ/วิธีคิดในการแก้ปัญหาของแต่ละกลุ่ม
เมื่อแลกเปลี่ยนกันมากขึ้น พี่ๆ จะเห็นมุมมองของเพื่อนที่หลากหลาย สามารถเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่ตัวเองเข้าใจไปใช้ได้โดยครูไม่ต้องบอกคำตอบ
_ระดับมัธยมฯ กระบวนการสร้างแรงบันดาลใจอาจไม่ยาว เด็กๆ เกิดความสนใจอยากเรียนรู้เรื่องสื่อแล้ว คุณครูจึงเข้าสู่กระบวนการวางแผนออกแบบการเรียนรู้

 
 
เริ่มจากครูแจกกระดาษสีส้มให้พี่ผู้หญิง สีเหลืองให้พี่ผู้ชายเขียนสิ่งที่อยากเรียนรู้ แล้วครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าตนเองต้องการเรียนรู้เรื่องอะไร?” พร้อมทั้งเหตุผล เมื่อเขียนเสร็จให้พี่ๆ นำกระดาษมาแปะที่กระดาน และช่วยกันจัดหัวข้อเนื้อหาที่อยากเรียนรู้
จากกระดาษที่เขียนมาความคิดเห็นส่วนใหญ่พี่ๆ ม.1 อยากเรียนรู้เรื่อง “สื่อ” และมีเหตุผลที่แตกต่างกันออกไป
            จากนั้นร่วมกันตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ โดยครูช่วยถามให้นักเรียนคิดในการตั้งชื่อหน่วย
- ชื่อหน่วยที่น่าสนใจ อยากให้เรียน อยากให้ค้นหา ?
- ชื่อหน่วยเป็นปัญหา ?
            โดยครูให้พี่ตัวแทน 1 คนในการเป็นคนดำเนินการเลือกชื่อเรื่อง(พี่เพชร) พี่ๆ ทุกคนช่วยกันระดมความคิดในการตั้งชื่อ อาทิ เช่น  Who are you? สื่อคือใคร?(พี่บีท-พี่อังอัง), The network school (พี่ออสติน)ครูณีและครูป้อมให้แนวทางการคิดชื่อคือ ชื่อจะต้องตรงประเด็น มีเหตุผลพอที่จะอธิบายถึงสิ่งที่เรียนว่ามีความสำคัญอย่างไร? ตอบโจทย์สิ่งที่เป็นปัญหาและมีความน่าสนใจ?
เมื่อได้ระดมความคิดแล้ว พี่ๆ ม.1ได้ตั้งชื่อว่า The media true or false
ซึ่งหลังจากพักเที่ยงสิ่งที่คุณครูฝากให้พี่ๆ ช่วยกันคิดเพิ่มเติมหาชื่อภาษาไทย ที่น่าสนใจ ช่วงบ่ายนักเรียนเขียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์


ตัวอย่างสรุปสัปดาห์

1 ความคิดเห็น:

  1. เริ่มต้นด้วยการเรียนรู้เกี่ยวกับสื่อ โดยการสร้างแรงบันดาลใจ เริ่มจากสื่อโฆษณาวิทยุ ให้เห็นมุมมอง 2 ความคิดเห็น เกี่ยวกับกรณีรถที่เปิดไฟไซเรน (อ.วีระกับคุณบินฑ์) และคุณครูเล่าเรื่องข่าวที่เกิดขึ้นจริงในเร็ววัน เกี่ยวกับกรณีนางงามจากกองขยะ ที่ถูกยึดมงกุฎจากคณะกรรมการที่กรอกข้อมูลเท็จที่เรียนเพียงจบ ม.3
    _ครูให้นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์จากข่าวทั่ง 2 กรณี โดยครูให้ร่วมกันวิเคราะห์เป็นกลุ่มย่อย ให้เพื่อนๆ แต่ละคนเติมเต็มข้อมูลกันและกัน ครูให้แต่ละกลุ่มนำเสนอ(Show and Share) ชิ้นงานจากความเข้าใจของแต่ละกลุ่ม โดยเพื่อนๆ ซักถามตรวจสอบสิ่งที่อยากรู้อีกครั้ง / คุณครูช่วยค่อยอำนวยการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นตลอดชั่วโมง
    ในชั่วโมงสร้างแรงอีกคาบครูให้นักเรียนดูคลิป “พฤติกรรมการเล่นเกมส์ของเด็ก” ผลกระทบที่สะท้อนให้เห็นถึงผลและสาเหตุที่เด็กติดเกมส์ สถาบันครอบครัวมีปัญหา ทำให้เด็กไม่สามารถเผชิญปัญหาและทางเลือก เป็นการกระตุ้นให้เด็กเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นทางความรู้สึกและความคิด ของแต่ละคนที่เห็นจากเหตุการณ์สั้นๆ จากนั้นครูกระตุ้นด้วยคำถามหลังตากดูจากคลิป คือ
    1.เกิดอะไรขึ้นในคลิป ?
    2. ผลกระทบที่ตามมาคืออะไร ?
    3. สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างไร ?
    เพื่อให้พี่ ม.1 เกิดความใคร่รู้
    จากนั้นแบ่งนักเรียนให้พี่ๆ ม.1แบ่งกลุ่มกลุ่มละ 4 คน ครูแจกกระดาษ A3 ให้แต่ละคนตอบคำถาม ผ่าน Place Mat โดยครูให้เวลาประมาณ 5 นาที จากนั้นเวียนกันอ่าน พร้องกับจัดระบบข้อมูลคำตอบ ก่อนนำเสนอนำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนวิธีการ/วิธีคิดในการแก้ปัญหาของแต่ละกลุ่ม
    เมื่อแลกเปลี่ยนกันมากขึ้น พี่ๆ จะเห็นมุมมองของเพื่อนที่หลากหลาย สามารถเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่ตัวเองเข้าใจไปใช้ได้โดยครูไม่ต้องบอกคำตอบ
    _ระดับมัธยมฯ กระบวนการสร้างแรงบันดาลใจอาจไม่ยาว เด็กๆ เกิดความสนใจอยากเรียนรู้เรื่องสื่อแล้ว คุณครูจึงเข้าสู่กระบวนการวางแผนออกแบบการเรียนรู้
    เริ่มจากครูแจกกระดาษสีส้มให้พี่ผู้หญิง สีเหลืองให้พี่ผู้ชายเขียนสิ่งที่อยากเรียนรู้ แล้วครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าตนเองต้องการเรียนรู้เรื่องอะไร?” พร้อมทั้งเหตุผล เมื่อเขียนเสร็จให้พี่ๆ นำกระดาษมาแปะที่กระดาน และช่วยกันจัดหัวข้อเนื้อหาที่อยากเรียนรู้
    จากกระดาษที่เขียนมาความคิดเห็นส่วนใหญ่พี่ๆ ม.1 อยากเรียนรู้เรื่อง “สื่อ” และมีเหตุผลที่แตกต่างกันออกไป
    จากนั้นร่วมกันตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้ โดยครูช่วยถามให้นักเรียนคิดในการตั้งชื่อหน่วย
    - ชื่อหน่วยที่น่าสนใจ อยากให้เรียน อยากให้ค้นหา ?
    - ชื่อหน่วยเป็นปัญหา ?
    โดยครูให้พี่ตัวแทน 1 คนในการเป็นคนดำเนินการเลือกชื่อเรื่อง(พี่เพชร) พี่ๆ ทุกคนช่วยกันระดมความคิดในการตั้งชื่อ อาทิ เช่น Who are you? สื่อคือใคร?(พี่บีท-พี่อังอัง), The network school (พี่ออสติน)ครูณีและครูป้อมให้แนวทางการคิดชื่อคือ ชื่อจะต้องตรงประเด็น มีเหตุผลพอที่จะอธิบายถึงสิ่งที่เรียนว่ามีความสำคัญอย่างไร? ตอบโจทย์สิ่งที่เป็นปัญหาและมีความน่าสนใจ?
    เมื่อได้ระดมความคิดแล้ว พี่ๆ ม.1ได้ตั้งชื่อว่า “The media true or false”
    ซึ่งหลังจากพักเที่ยงสิ่งที่คุณครูฝากให้พี่ๆ ช่วยกันคิดเพิ่มเติมหาชื่อภาษาไทย ที่น่าสนใจ ช่วงบ่ายนักเรียนเขียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

    ตอบลบ