เป้าหมาย (Understanding Goal)
เพื่อให้เข้าใจพร้อมทั้งสามารถอธิบายเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และผลกระทบจากสื่อโฆษณาและข้อมูลสารสนเทศต่างๆ รู้เท่าทันและวิเคราะห์สื่อได้อย่างมีวิจารณญาณรวมทั้งสร้างสรรค์สื่อสีขาวและการใช้ชีวิตได้อย่างถูกสุขภาวะ

Week8

เป้าหมายรายสัปดาห์: เข้าใจและสามารถวิเคราะห์และเลือกรับสื่อได้อย่างมีวิจารณญาณและผลิตสื่อสร้างสรรค์ให้ผู้อื่นรับรู้ได้

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สัปดาห์ที่ 8

Week
Input
Process
Output
Outcome








8

14-18 ธ.ค. 58


โจทย์
- การผลิตสื่อสร้างสรรค์
- การวิเคราะห์และเลือกรับสื่อ
Key  Questions
- นักเรียนคิดว่าสื่อโฆษณามีผลอย่างไรต่อผู้บริโภค
- นักเรียนมีรูปแบบอย่างไรในการเลือกรับสื่อโฆษณา
- นักเรียนจะเผยแพร่สื่อสร้างสรรค์ต่อผู้อื่นให้รับรู้ได้อย่างไร
เครื่องมือคิด
Show  and Share
นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบหรือวิธีการในการเลือกรับสื่อโฆษณาของตนเอง
Brainstorm
ร่วมกันพูดคุยวางแผนการออกแบบและนำเสนอรูปแบบการเลือกสื่อโฆษณาประเภทอุปโภคและบริโภค
Wall thinking
- ติดชิ้นงานตามรูปแบบต่างๆ ที่นักเรียนสนใจถ่ายทอดความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบหรือวิธีการในการเลือกรับสื่อโฆษณาของตนเอง
Wall thinking
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
 - ห้องเรียน
- คลิปตีแผ่เรื่องจริงจากโฆษณา

- อินเตอร์เน็ต
จันทร์
ชง : ครูเปิดคลิป “ตีแผ่เรื่องจริงจากโฆษณา”  เกี่ยวกับการถ่ายทอดสื่อเพียงด้านเดียว เอาเปรียบผู้บริโภค
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าสื่อโฆษณามีผลอย่างไรต่อผู้บริโภค?”
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์และร่วมพูดคุยจากสิ่งที่ได้ดู

อังคาร
ใช้ : นักเรียนสร้างชิ้นงานวิเคราะห์เกี่ยวกับสื่อมีอิทธิพลต่อวิถีของผู้บริโภค

พุธ
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนมีรูปแบบอย่างไรในการเลือกรับสื่อโฆษณา?”
เชื่อม : นักเรียนกันพูดคุยวิเคราะห์เกี่ยวกับการเลือกรับสื่ออย่างมีวิจารณญาณ

ศุกร์
 ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “สื่อโฆษณามีผลอย่างไรต่อผู้บริโภคและ?”
เชื่อม : นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวสื่อโฆษณาที่มีอิทธิพลต่อผู้บริโภค
- นักเรียนเขียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์


ภาระงาน
- วิเคราะห์สิ่งที่ได้ดูการคลิปตีแผ่เรื่องจริงจากโฆษณา
- อภิปรายร่วมกัน
- เผยแพร่ชิ้นงานสร้างสรรค์สู่ผู้อื่น
ชิ้นงาน
- สร้างแผนโครงเรื่องการถ่ายทำ
- สื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์
- ชิ้นงานถ่ายทอดความเข้าใจในรูปแบบคลิปVDOหนังสั้นการ์ตูนช่อง
 - สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและสามารถวิเคราะห์และเลือกรับสื่อได้อย่างมีวิจารณญาณและผลิตสื่อสร้างสรรค์ให้ผู้อื่นรับรู้ได้
ทักษะ
ทักษะชีวิต
การอยู่ร่วมกัน ทำงานร่วมกัน แสดงความคิดเห็นและช่วยเหลือกันทำงาน
ทักษะการวางแผน
การวางแผนในการทำงานศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เพื่อนำมาสร้างชิ้นงาน
ทักษะการเรียนรู้
 - สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
 สามารถคิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับชิ้นงานของตนเองและของผู้อื่น
ทักษะICT
สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกรับสื่อโฆษณาของตนเองอย่างมีวิจารณญาณ
ทักษะการสื่อสาร
นำเสนอชิ้นงานถ่ายทอดความเข้าใจการเลือกรับสื่อโฆษณาของตนเองอย่างมีวิจารณญาณ
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์ความคิดเห็นและทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น








ตัวอย่างกิจกรรม
ในสัปดาห์นี้หน่วยการเรียนรู้หลักยังอยู่ในกระบวนการถ่ายทำสารคดี/หนังสั้น/โฆษณา ฯลฯ
ทุกกลุ่มร่วมออกแบบวางแผนที่แยบยล แตกต่างกันออกไป เพราะในสัปดาห์ที่ผ่านมาและสัปดาห์นี้ พี่ๆ มัธยมฯทุกชั้นมีการแสดงละครรวมให้พี่ๆอนุบาลและประถมฯ รับชมพร้อมกัน





เด็กๆ ม.1 จึงมีเวลาน้อยในการจัดการงานการถ่ายทำ และแบ่งบทบาทหน้าจัดเตรียมอุปกรณืในการถ่ายทำทั้งหมด แต่ละกลุ่มพบเจอปัญหามากมายในการวางแผนงานร่วมกัน อาทิเช่น
-  การเตรียมชุดการแสดง (กลุ่ม พี่ปุณ)
-  อุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายทำ (กลุ่มพี่ออสติน)
-  วางแผนถ่ายทำคาดเคลื่อน จากที่เขียนบทไว้ตอนแรก (กลุ่ม พี่บีท)
         ขณะที่การเรียนรู้เกิดขึ้นในการทำงานกลุ่ม ครูและเด็กๆ จะฉวยโอกาสชวนทุกคนพูดคุยเพื่อหาแนวทางการแก้ไข ให้แต่ละคนได้เกิดการเรียนรู้ แต่ละคนได้ใคร่ครวญกับงานที่ได้ทำ
_ก่อนที่แต่ละคนจะส่งคลิปดังกล่าว จะได้พูดคุยหาแนวร่วมภายในของแต่ละกลุ่ม




"ทำอย่างไร?  ทุกคนจะเข้าใจหน้างานของทุกคนในกลุ่ม จุดเชื่อมคือตรงไหน?"
"บทบาทของแต่ละคนเป็นอย่างไร? ทดแทนกันได้ไหม?"
ทบทวนเพื่อให้ได้ตระหนักสู่การเรียนรู้จริงของแต่ละคน ก่อนจะส่งงานให้คุณครูรับชม ก่อนจะนำไปปรับแก้ไข(Edit) เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์จากชิ้นงาน เพื่อความภาคภูมิใจของแต่ละคน
___กิจกรรมคู่ขนาน___ผัก/ข้าว/พืชพันธุ์__
_ในสัปดาห์นี้ยังคงเกิดปัญหาเดิมคือ 'ลูกวัวน้อย' ยังเวียนมากัดกินผักของเด็กๆ อย่างต่อเนื่อง(ช่วงเช้าตรู่/มืดค่ำ) เพราะอยู่นอกเหนือการควบคุม ก็เลยยากต่อผลที่จะเกิดขึ้น 






ซึ่งเด็กๆ หาหนทางแนวทางแก้ไขมาโดยตลอดและให้ความสำคัญกับการป้องกันอย่างยิ่ง


ก่อนที่นักเรียนแต่ละคนแยกย้ายทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ตัวอย่างชิ้นงาน

1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้หน่วยการเรียนรู้หลักยังอยู่ในกระบวนการถ่ายทำสารคดี/หนังสั้น/โฆษณา ฯลฯ
    ทุกกลุ่มร่วมออกแบบวางแผนที่แยบยล แตกต่างกันออกไป เพราะในสัปดาห์ที่ผ่านมาและสัปดาห์นี้ พี่ๆ มัธยมฯทุกชั้นมีการแสดงละครรวมให้พี่ๆอนุบาลและประถมฯ รับชมพร้อมกัน
    เด็กๆ ม.1 จึงมีเวลาน้อยในการจัดการงานการถ่ายทำ และแบ่งบทบาทหน้าจัดเตรียมอุปกรณืในการถ่ายทำทั้งหมด แต่ละกลุ่มพบเจอปัญหามากมายในการวางแผนงานร่วมกัน อาทิเช่น
    - การเตรียมชุดการแสดง (กลุ่ม พี่ปุณ)
    - อุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายทำ (กลุ่มพี่ออสติน)
    - วางแผนถ่ายทำคาดเคลื่อน จากที่เขียนบทไว้ตอนแรก (กลุ่ม พี่บีท)
    ขณะที่การเรียนรู้เกิดขึ้นในการทำงานกลุ่ม ครูและเด็กๆ จะฉวยโอกาสชวนทุกคนพูดคุยเพื่อหาแนวทางการแก้ไข ให้แต่ละคนได้เกิดการเรียนรู้ แต่ละคนได้ใคร่ครวญกับงานที่ได้ทำ
    _ก่อนที่แต่ละคนจะส่งคลิปดังกล่าว จะได้พูดคุยหาแนวร่วมภายในของแต่ละกลุ่ม
    "ทำอย่างไร? ทุกคนจะเข้าใจหน้างานของทุกคนในกลุ่ม จุดเชื่อมคือตรงไหน?"
    "บทบาทของแต่ละคนเป็นอย่างไร? ทดแทนกันได้ไหม?"
    ทบทวนเพื่อให้ได้ตระหนักสู่การเรียนรู้จริงของแต่ละคน ก่อนจะส่งงานให้คุณครูรับชม ก่อนจะนำไปปรับแก้ไข(Edit) เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์จากชิ้นงาน เพื่อความภาคภูมิใจของแต่ละคน
    ___กิจกรรมคู่ขนาน___ผัก/ข้าว/พืชพันธุ์__
    _ในสัปดาห์นี้ยังคงเกิดปัญหาเดิมคือ 'ลูกวัวน้อย' ยังเวียนมากัดกินผักของเด็กๆ อย่างต่อเนื่อง(ช่วงเช้าตรู่/มืดค่ำ) เพราะอยู่นอกเหนือการควบคุม ก็เลยยากต่อผลที่จะเกิดขึ้น ซึ่งเด็กๆ หาหนทางแนวทางแก้ไขมาโดยตลอดและให้ความสำคัญกับการป้องกันอย่างยิ่ง

    ก่อนที่นักเรียนแต่ละคนแยกย้ายทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

    ตอบลบ