เป้าหมาย (Understanding Goal)
เพื่อให้เข้าใจพร้อมทั้งสามารถอธิบายเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และผลกระทบจากสื่อโฆษณาและข้อมูลสารสนเทศต่างๆ รู้เท่าทันและวิเคราะห์สื่อได้อย่างมีวิจารณญาณรวมทั้งสร้างสรรค์สื่อสีขาวและการใช้ชีวิตได้อย่างถูกสุขภาวะ

Week3

 เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับประเภทของสื่อ และความสำคัญของสื่อที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สัปดาห์ที่ 3
Week
Input
Process
Output
Outcome







3

9-13 .ย. 58

โจทย์
ประเภท/ความสำคัญของสื่อ

Key  Question
นักเรียนรู้จักสื่อเหล่านี้ได้อย่างไร?

เครื่องมือคิด
Round table นักเรียนเขียนสื่อที่ตนเองรู้จักลงในกระดาษครึ่งA4
 Show  and Share นำเสนอแลกเปลี่ยนสื่อที่ตนเองรู้จัก
Wall thinking ติดชิ้นงานสื่อประเภทต่างๆ และสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
 - ห้องเรียน
- กระดาษครึ่งA4
- บัตรคำ (ประเภทสื่อ)
จันทร์
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ให้นักเรียนเขียนสื่อที่ตนเองรู้จัก รู้จักสื่ออะไรบ้าง?”
เชื่อม : ครูแจกกระดาษครึ่งA4 ให้นักเรียนแต่ละคนเขียนสื่อที่รู้จัง (Round table)

- ครูและนักเรียนร่วมจัดหมวดหมู่สื่อที่ตัวเองรู้จัก

อังคาร
ชง : ครูกระตุ้นด้วยคำถาม นักเรียนรู้จักสื่อเหล่านี้ได้อย่างไร?
เชื่อม : ครูและนักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

- ครูแจกบัตรคำที่เขียนข้อความสื่อประเภทต่างๆ ให้นักเรียน
- ครูให้นักเรียนจัดหมวดหมูจากบัตรคำต่างๆ ที่ครูแจกให้(ประเภทสื่อ)
พุธ
- นักเรียนจับคู่ศึกษาและนำเสนอในรูปแบบ Power point  หรือ Keynote
ใช้ : นักเรียนแต่ละคู่ร่วมจัดทำ Power point  หรือ Keynote เกี่ยวกับประเภทของสื่อ
ศุกร์
เชื่อม :  นักเรียนนำเสนอ Power point  หรือ Keynote  ให้ครูและเพื่อนๆ ช่วยเสนอแนะเพิ่มเติม และฝึกตั้งคำถาม เพื่อตรวจสอบความเข้าใจอีกครั้ง
- นักเรียนเขียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- นักเรียนร่วมกันจัดหมวดหมู่สื่อที่ตนเองรู้จัก
- นักเรียนจับบัตรคำมาเลือกจัดหมวดหมู่
- ร่วมจัดทำ Power point เพื่อเตรียมนำเสนอ

ชิ้นงาน
- บันทึกความเข้าใจลงในสมุดรายวิชา
- Power point ประเภทของสื่อ

- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับประเภทของสื่อ และความสำคัญของสื่อที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิต
ทักษะ
ทักษะชีวิต
 เข้าใจและมีเป้าหมายในการเรียนรู้สิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม  สามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสม 
ทักษะการเรียนรู้
  เรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษาประเภทของสื่อกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
 เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วนักเรียนสามารถจัดกระทำข้อมูลให้เข้าใจง่ายและเนื้อหาครบถ้วนก่อนจะนำมาจัดทำ Power point  หรือ Keynote
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
 ทำงานร่วมกับเพื่อนๆ ปรึกษาเลือกประเภทของสื่อ และช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการจัดทำ Power point  หรือ Keynote
ทักษะICT
 ใช้คอมพิวเตอร์จัดทำ Power point  หรือ Keynote และสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมในการทำงาน
ทักษะการสื่อสาร
- นำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของสื่อ
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มศึกษาเกี่ยวกับประเภทของสื่อ(คลิป โฆษณา ข่าว/บทความ)

คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์ความคิดเห็นและทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้

-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย

- มีความมุ่งมั่นในการทำงานและเคารพรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

ตัวอย่างกิจกรรม
_ในสัปดาห์นี้กิจกรรมคู่ขนานคือการปลูกข้าวในแปลงนาพื้นที่ 1 งาน / ข้าว 4 เมล็ด ให้ได้ 2,000 เมล็ด
สภาพอากาศ กาลเวลา ประจวบเหมาะพอดีที่เด็กๆ ต้องช่วยกันปลูกและจัดสรรทรัพยากรที่มีมาเก็บเอาเมล็ดพันธุ์ข้าวสินเหล็กมาเก็บสะสมไว้




ในส่วนของท่อปลูกข้าว 4 เมล็ด ให้ได้ 2,000 เมล็ด- ในพื้นที่จำกัด
_ในตอนนี้ข้าวไม่มี เด็กๆ จึงอยากปลูกผักไว้กินเอง ผักที่ปลอดภัย ไร้สารพิษ
ครูให้โจทย์กับเด็กๆ "นักเรียนจะปลูกผักปลอดสารพิษอะไรบ้าง? ปลูกอย่างไร? สรรพคุณแต่ละประเภทอย่างไรบ้าง?"
ทุกคนค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมมานำเสนอให้คุณครูก่อนลงปลูกจริง และสอบถามผู้รู้มีเมล็ดพันธุ์ที่หลากหลายที่นำมาแลกเปลี่ยนกันและกัน




แปลงนาข้าว 1 งาน: เด็กๆ จับจอบ/เสียม มาช่วยกันลงมือทำนากันเอง คัดเลือกเมล็ดพันธุ์(ข้าวสินเหล็ก) มาลงแปลงนาร่วมกันเอง
การดำเนินงานเป็นไปด้วยความลำบาก เหน็ดเหนื่อย ใช้เวลาวันละ 2-3 ชั่วโมง
พอกลับมาห้องเรียนทุกคน ครูให้นักเรียนถอดบทเรียนจากกิจกรรม "เรียนรู้จากความเหนื่อย"
ความล้า/ความอดทน
_: พยายามฝ่าฟันผ่านพ้น ผลความสำเร็จกลับกลายเป็นความภาคภูมิใจของเด็กๆ หลายๆ คน
       พอแปลงนาเราพลิกหน้าดินให้หมักไว้ 3 วัน และเก็บคัดเมล็ดพันธุ์ไว้ เตรียมหว่าน/หยอดเมล็ดพันธุ์ลงดิน  ช่วงเย็นแสงแดดอ่อนๆ ครูพาเด็กๆ เริ่มลงเมล็ดพันธุ์ในดินที่เตรียมไว้พอดี
และในท่อแต่ละคน ตอนนี้เด็กๆ นำเมล็ดพันธุ์ของผัก และต้นอ่อนของผักลงในท่อแล้ว โดยที่บางท่อดินน้อยเด็กต้องไปขนดินบริเวณหลังโรงเรียนฯ มาเพิ่มอีกครั้ง และไปขนปุ๋ยคอกตามจุดต่างๆ
โจทย์ที่ครูฝากอีกส่วนหนึ่งคือให้ทุกคนทำป้ายกำกับท่อของตนเอง บอกสรรคุณของผักและกระบวนปรุงดินอีกด้วย
_ในส่วนของPBLหน่วยสื่อยังเรียนคู่ขนานไปกับกิจกรรมการปลูกข้าว ความยืดหยุ่นของกิจกรรมยังคงดำเนินไป แต่ครูมีเป้าหมายใหญ่ของสัปดาห์นี้




ครูให้ทุกคนเขียนสื่อที่ตนเองรู้จักลงในแผ่นกระดาษก่อนที่จะช่วยกันจัดหมวดหมู่
แลครูแบ่งกลุ่มให้จัดทำPower point นำเสนอเกี่ยวกับข้อมูลสื่อที่รู้จัก นำเสนอครูและเพื่อนๆ แต่ด้วยเวลาที่ครู/นักเรียนร่วมทำหลายกิจกรรม จึงนำเสนอได้เพียงแค่ 1 กลุ่ม คือ พี่เพชร พี่ปุณ พี่คอป และพี่บอล

ชาวงบ่ายครูพาไปดูผัก/ข้าว ก่อนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์นี้

ตัวอย่างสรุปสัปดาห์

1 ความคิดเห็น:

  1. _ในสัปดาห์นี้กิจกรรมคู่ขนานคือการปลูกข้าวในแปลงนาพื้นที่ 1 งาน / ข้าว 4 เมล็ด ให้ได้ 2,000 เมล็ด
    สภาพอากาศ กาลเวลา ประจวบเหมาะพอดีที่เด็กๆ ต้องช่วยกันปลูกและจัดสรรทรัพยากรที่มีมาเก็บเอาเมล็ดพันธุ์ข้าวสินเหล็กมาเก็บสะสมไว้
    ในส่วนของท่อปลูกข้าว 4 เมล็ด ให้ได้ 2,000 เมล็ด- ในพื้นที่จำกัด
    _ในตอนนี้ข้าวไม่มี เด็กๆ จึงอยากปลูกผักไว้กินเอง ผักที่ปลอดภัย ไร้สารพิษ
    ครูให้โจทย์กับเด็กๆ "นักเรียนจะปลูกผักปลอดสารพิษอะไรบ้าง? ปลูกอย่างไร? สรรพคุณแต่ละประเภทอย่างไรบ้าง?"
    ทุกคนค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมมานำเสนอให้คุณครูก่อนลงปลูกจริง และสอบถามผู้รู้มีเมล็ดพันธุ์ที่หลากหลายที่นำมาแลกเปลี่ยนกันและกัน

    แปลงนาข้าว 1 งาน: เด็กๆ จับจอบ/เสียม มาช่วยกันลงมือทำนากันเอง คัดเลือกเมล็ดพันธุ์(ข้าวสินเหล็ก) มาลงแปลงนาร่วมกันเอง
    การดำเนินงานเป็นไปด้วยความลำบาก เหน็ดเหนื่อย ใช้เวลาวันละ 2-3 ชั่วโมง
    พอกลับมาห้องเรียนทุกคน ครูให้นักเรียนถอดบทเรียนจากกิจกรรม "เรียนรู้จากความเหนื่อย"
    ความล้า/ความอดทน
    _: พยายามฝ่าฟันผ่านพ้น ผลความสำเร็จกลับกลายเป็นความภาคภูมิใจของเด็กๆ หลายๆ คน
    พอแปลงนาเราพลิกหน้าดินให้หมักไว้ 3 วัน และเก็บคัดเมล็ดพันธุ์ไว้ เตรียมหว่าน/หยอดเมล็ดพันธุ์ลงดิน ช่วงเย็นแสงแดดอ่อนๆ ครูพาเด็กๆ เริ่มลงเมล็ดพันธุ์ในดินที่เตรียมไว้พอดี
    และในท่อแต่ละคน ตอนนี้เด็กๆ นำเมล็ดพันธุ์ของผัก และต้นอ่อนของผักลงในท่อแล้ว โดยที่บางท่อดินน้อยเด็กต้องไปขนดินบริเวณหลังโรงเรียนฯ มาเพิ่มอีกครั้ง และไปขนปุ๋ยคอกตามจุดต่างๆ
    โจทย์ที่ครูฝากอีกส่วนหนึ่งคือให้ทุกคนทำป้ายกำกับท่อของตนเอง บอกสรรคุณของผักและกระบวนปรุงดินอีกด้วย
    _ในส่วนของPBLหน่วยสื่อยังเรียนคู่ขนานไปกับกิจกรรมการปลูกข้าว ความยืดหยุ่นของกิจกรรมยังคงดำเนินไป แต่ครูมีเป้าหมายใหญ่ของสัปดาห์นี้
    ครูให้ทุกคนเขียนสื่อที่ตนเองรู้จักลงในแผ่นกระดาษก่อนที่จะช่วยกันจัดหมวดหมู่
    แลครูแบ่งกลุ่มให้จัดทำPower point นำเสนอเกี่ยวกับข้อมูลสื่อที่รู้จัก นำเสนอครูและเพื่อนๆ แต่ด้วยเวลาที่ครู/นักเรียนร่วมทำหลายกิจกรรม จึงนำเสนอได้เพียงแค่ 1 กลุ่ม คือ พี่เพชร พี่ปุณ พี่คอป และพี่บอล

    ชาวงบ่ายครูพาไปดูผัก/ข้าว ก่อนทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์นี้

    ตอบลบ