เป้าหมาย (Understanding Goal)
เพื่อให้เข้าใจพร้อมทั้งสามารถอธิบายเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่และผลกระทบจากสื่อโฆษณาและข้อมูลสารสนเทศต่างๆ รู้เท่าทันและวิเคราะห์สื่อได้อย่างมีวิจารณญาณรวมทั้งสร้างสรรค์สื่อสีขาวและการใช้ชีวิตได้อย่างถูกสุขภาวะ

Week2

เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันสามารถออกแบบการเรียนรู้ได้

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สัปดาห์ที่ 2
Week
Input
Process
Output
Outcome







2

2-6 .ย. 58

โจทย์
- ตั้งชื่อหัวข้อโครงงาน
- วิเคราะห์สิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้เกี่ยวกับหัวข้อโครงงาน
- ออกแบบปฏิทินการเรียนรู้
- สรุป Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนการเรียนรู้
Key  Questions
- นักเรียนคิดว่าชื่อหน่วยที่น่าสนใจควรเป็นอย่างไร
- นักเรียนคิดว่าตนเองต้องการเรียนรู้เรื่องอะไร
เครื่องมือคิด
Place mat
เขียนวิเคราะห์หลังจากดูคลิป
Card & Chart
เรื่องที่ต้องการเรียนรู้
Think  Pair Share
สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากรู้
Blackboard  Share
การตั้งชื่อโครงงาน
Brainstorms
ระดมความคิดเห็นเพื่อออกแบบปฏิทินการเรียนรู้
Mind  Mapping
สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน 

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องเรียน
- กระดาษสี ขนาดครึ่ง A4
- กระดาษชาร์ต
จันทร์
ชง : ครูให้นักเรียนดูคลิปเกี่ยวกับ “สื่อรุนแรงกับปัญหาสะท้อนของสังคมในยุคปัจจุบัน / พฤติกรรมการติดเกมส์”
เชื่อม :  นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
- ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มละ 4 คน ตอบคำถาม
1. เกิดอะไรขึ้นจากคลิป?
2. ส่งผลกระทบอย่างไร?
3 .แนวทางการแก้ไขควรเป็นในรูปแบบใด?
ใช้ : นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ผ่าน Place mat
เชื่อม :  นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมนำเสนอ พร้อมทั้งเพื่อนๆ ฝึกการตั้งคำถาม
อังคาร
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนต้องการเรียนรู้เรื่องอะไร?  พร้อมกับครูแจกกระดาษ A4 ให้นักเรียนแต่ละคน
- ครูใช้คำถามกระตุ้น นักเรียนคิดว่าตนเองอยากจะไปท่องเที่ยวที่ประเทศใด และอยากจะไปเพราะอะไร?”
เชื่อม :  นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นโดยการเขียนในรูปแบบบทความลงในกระดาษ A4 ที่ครูแจกให้
- ครูและนักเรียนร่วมเปิดวงเสวนาเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ทั้งในสัปดาห์ที่ผ่านมาและบทความของแต่ละคน
- นักเรียนแต่ละคนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าหัวข้อโครงงานที่น่าสนใจควรเป็นอย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น และ ร่วมกันตั้งชื่อหัวข้อโครงงานโดยใช้วิธีการ Blackboard  Share
พุธ
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าตนเองต้องการเรียนรู้เรื่องอะไร?”
- นักเรียนแต่ละคนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าหัวข้อโครงงานที่น่าสนใจควรเป็นอย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น และ ร่วมกันตั้งชื่อหัวข้อโครงงานโดยใช้วิธีการ Blackboard  Share
ศุกร์
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าตนเองต้องการเรียนรู้เรื่องอะไร?”
เชื่อม : ครูแจกกระดาษการ์ดให้นักเรียนแต่ละคน โดยให้นักเรียนเขียนเรื่องที่อยากเรียนรู้ โดย 1 เรื่อง ต่อการ์ด 1 แผ่น (Card & Chart)
เชื่อม :  ครูและนักเรียนร่วมกันจัดหมวดหมู่เรื่องที่ต้องการศึกษา
- นักเรียนเขียนสิ่งที่รู้แล้วกับสิ่งที่อยากรู้
( Think Pair Share )
- นักเรียนร่วมกันนำสิ่งที่อยากเรียนรู้มาออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ลงในกระดาษชาร์ต และเขียนสรุปองค์ความรู้ ก่อนการเรียนรู้ในรูปแบบ Mind  Mapping
- ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายกิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- นักเรียนแต่ละคนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
- ดูคลิปผลกระทบจากสื่อที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน
 - วิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำถามและความคิดเห็นที่ได้ฟัง
- ตั้งชื่อหัวข้อโครงงาน
- วิเคราะห์สิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้เกี่ยวกับหัวข้อโครงงาน
- ออกแบบปฏิทินการเรียนรู้
-  สรุป Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนการเรียนรู้

ชิ้นงาน
- บทความแหล่งท่องเที่ยวที่ต้องการ
- หัวข้อโครงงาน
- สิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้เกี่ยวกับหัวข้อโครงงาน
- ปฏิทินการเรียนรู้
- Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนการเรียนรู้
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
อธิบายและปฏิบัติตนตามสิทธิและหน้าที่ในการทำงานกลุ่มรวมทั้งรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น

ทักษะ
ทักษะชีวิต
การเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
เข้าใจและมีเป้าหมายในการเรียนรู้สิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม
ทักษะการเรียนรู้
 เรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องที่ศึกษากับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทำงานร่วมกับเพื่อนๆ ปรึกษาเลือกหัวข้อหน่วยการเรียนรู้และช่วยเหลือซึงกันและกันในขณะที่ทำงาน
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มศึกษาเกี่ยวกับการเสนอชื่อหัวข้อหน่วย
คุณลักษณะ
- มีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบปฏิทินการเรียนรู้
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น


ตัวอย่างกิจกรรม
_ในสัปดาห์นี้เด็กๆ กับครูยังตั้งชื่อภาษาไทยจากชื่อ The media true or false
ยังไม่ได้ชัดเจน มีชื่อที่ตั้งๆ มาได้แก่ มุมมองสื่อสองด้าน, มุมมองสื่อสองมิติ, มหัศจรรย์รอบรู้เรื่องสื่อ ฯลฯ
คุณครูพาเด็กๆ ออกแบบร่วมกันวางแผนการเรียนรู้
เริ่มจากพาทำ 'สิ่งที่รู้แล้ว' กับ 'สิ่งที่อยากเรียนรู้' เริ่มจากทำเดี่ยวก่อน




หลังจากนั่นคุณครูจับกลุ่มย่อย 3 คน ช่วยกันแลกเปลี่ยนงานซึ่งกันและกัน เพื่อให้เห็นแต่ละมุมคิดขอบเพื่อนๆ
_ก่อนที่ครูจะให้รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ 2 กลุ่ม เพื่อให้ช่วยกันขมวดความเข้าใจของทุกๆ คน มารวบรวมไว้ให้ให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อเตรียมรวบรวมเป็นซาร์ตใหญ่ไว้ติดไว้ผนังบ้านWall Thinking
จากนั้นคุณครูให้โจทย์แต่ละคน "นักเรียนจะออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ในQuarterนี้อย่างไร?"
เริ่มจากให้ทำเป็นคู่ ออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ 10 สัปดาห์
นักเรียนออกแบบลงในกระดาษA4 เพื่อเตรียมนำเสนอคุณครูและเพื่อนๆ ก่อนร่วมกันช่วยขมวดความเข้าใจสร้างเป็นปฏิทินใหญ่ประจำห้องติดผนังห้องWall Thinking
     ทุกคนช่วยกันแบ่งบทบาทหน้าที่ในการทำงานออกแบบชื่อหน่วย ได้ชื่อภาษาไทยแล้วก็คือ 'สื่อ!..รู้จริงป่ะ?' -The media true or false.

อีกกลุ่มแบ่งบทบาทสร้าง 'สิ่งที่รู้แล้ว' กับ 'สิ่งที่อยากเรียนรู้' ทุกคนต่างช่วยเหลืองานกันเป็นอย่างดี และซาร์ตแผ่นใหญ่มองเห็นภาพรวมที่เด็กๆ สนใจ




สร้างปฏิทินการเรียนรู้ ร่วมกันออกแบบงานเพื่อนจัดทำซาร์ตแผ่นใหญ่เพื่อมองให้เห็นมิติที่หลากหลาย โดยครูช่วยจัดระบบข้อมูลเพื่อให้สอดคล้องกับปฏิทินที่ครูวางไว้ก่อนหน้านี้ แต่มาจากความเข้าใจของผู้เรียนที่จัดทำปฏิทินไว้
ก่อนแต่ละคนได้ลงมือทำ Mind Mapping(ก่อนเรียน) ในหน่วยการเรียนรู้เกี่ยวกับสื่อในQuarterนี้ โดยเด็กๆ รับA4กับครูมาจัดทำ รวบรวมความเข้าใจก่อนเรียน เพื่อครูจะได้เห็นฐานความเข้าใจผู้เรียน
และในส่วนของกิจกรรมคู่ขนาน


_นักเรียนอยากปลูกผักในท่อปลูกของแต่ละคน ครูจึงให้แต่ละคนลองออกแบบวางแผนงานการปลูกผักของแต่ละท่อปลูก เพื่อให้เห็นว่าความสนใจนั่นอยากปลูกอยากดูแลจริงจังขนาดไหน และโจทย์ครูยังฝากให้แต่ละไปสืบค้นหาสรรพคุณของผักที่เตรียมนำลงปลูกอีกด้วย ก่อนจะบันทึกผลลงในสมุดเล่มเล็ก

    ก่อนที่บางคนสะสางงานเสร็จเรียบร้อยหมดแล้ว จึงลงมือทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์โดยที่เด็กๆ สร้างชิ้นงานผ่านหลากหลายเครื่องมือคิด พร้อมนำเสนอความเข้าใจของงานทุกครั้ง

ตัวอย่างสรุปสัปดาห์
แก่นเรื่องในการเรียนรู้วิชาProblem-based learning (PBL) ในสัปดาห์ที่ 2 นี้ (พี่มายด์)
- ตั้งชื่อหัวข้อโครงงาน
- วิเคราะห์สิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้เกี่ยวกับหัวข้อโครงงาน
- ออกแบบปฏิทินการเรียนรู้
- สรุป Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนการเรียนรู้

ทักษะที่เกิดขึ้น ครูวิเคราะห์จากกิจกรรมการเรียนรู้รายสัปดาห์ของนักเรียน
ทักษะชีวิต : พี่มายด์สามารถเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างเหมาะสม เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองทำงานกลุ่ม
ทักษะการเรียนรู้ : พี่มายด์สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน : พี่มายด์สามารถทำงานร่วมกับเพื่อนๆ ปรึกษาเลือกหัวข้อหน่วยการเรียนรู้และช่วยเหลือซึ่งกันและกันในขณะที่ทำงาน
ทักษะการสื่อสาร : พี่มายด์สามารถอธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มศึกษาเกี่ยวกับการเสนอชื่อหัวข้อหน่วย
คุณลักษณะ : นักเรียนทุกคนมีความรับผิดชอบต่อภาระงานที่ได้รับมอบหมาย ให้ความร่วมมือในการออกแบบวางแผนการเรียนรู้เป็นอย่างดี

2 ความคิดเห็น:

  1. _ในสัปดาห์นี้เด็กๆ กับครูยังตั้งชื่อภาษาไทยจากชื่อ The media true or false
    ยังไม่ได้ชัดเจน มีชื่อที่ตั้งๆ มาได้แก่ มุมมองสื่อสองด้าน, มุมมองสื่อสองมิติ, มหัศจรรย์รอบรู้เรื่องสื่อ ฯลฯ
    คุณครูพาเด็กๆ ออกแบบร่วมกันวางแผนการเรียนรู้
    เริ่มจากพาทำ 'สิ่งที่รู้แล้ว' กับ 'สิ่งที่อยากเรียนรู้' เริ่มจากทำเดี่ยวก่อน
    หลังจากนั่นคุณครูจับกลุ่มย่อย 3 คน ช่วยกันแลกเปลี่ยนงานซึ่งกันและกัน เพื่อให้เห็นแต่ละมุมคิดขอบเพื่อนๆ
    _ก่อนที่ครูจะให้รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ 2 กลุ่ม เพื่อให้ช่วยกันขมวดความเข้าใจของทุกๆ คน มารวบรวมไว้ให้ให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อเตรียมรวบรวมเป็นซาร์ตใหญ่ไว้ติดไว้ผนังบ้านWall Thinking
    จากนั้นคุณครูให้โจทย์แต่ละคน "นักเรียนจะออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ในQuarterนี้อย่างไร?"
    เริ่มจากให้ทำเป็นคู่ ออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ 10 สัปดาห์
    นักเรียนออกแบบลงในกระดาษA4 เพื่อเตรียมนำเสนอคุณครูและเพื่อนๆ ก่อนร่วมกันช่วยขมวดความเข้าใจสร้างเป็นปฏิทินใหญ่ประจำห้องติดผนังห้องWall Thinking
    ทุกคนช่วยกันแบ่งบทบาทหน้าที่ในการทำงานออกแบบชื่อหน่วย ได้ชื่อภาษาไทยแล้วก็คือ 'สื่อ!..รู้จริงป่ะ?' -The media true or false.
    อีกกลุ่มแบ่งบทบาทสร้าง 'สิ่งที่รู้แล้ว' กับ 'สิ่งที่อยากเรียนรู้' ทุกคนต่างช่วยเหลืองานกันเป็นอย่างดี และซาร์ตแผ่นใหญ่มองเห็นภาพรวมที่เด็กๆ สนใจ
    สร้างปฏิทินการเรียนรู้ ร่วมกันออกแบบงานเพื่อนจัดทำซาร์ตแผ่นใหญ่เพื่อมองให้เห็นมิติที่หลากหลาย โดยครูช่วยจัดระบบข้อมูลเพื่อให้สอดคล้องกับปฏิทินที่ครูวางไว้ก่อนหน้านี้ แต่มาจากความเข้าใจของผู้เรียนที่จัดทำปฏิทินไว้
    ก่อนแต่ละคนได้ลงมือทำ Mind Mapping(ก่อนเรียน) ในหน่วยการเรียนรู้เกี่ยวกับสื่อในQuarterนี้ โดยเด็กๆ รับA4กับครูมาจัดทำ รวบรวมความเข้าใจก่อนเรียน เพื่อครูจะได้เห็นฐานความเข้าใจผู้เรียน
    และในส่วนของกิจกรรมคู่ขนาน
    _นักเรียนอยากปลูกผักในท่อปลูกของแต่ละคน ครูจึงให้แต่ละคนลองออกแบบวางแผนงานการปลูกผักของแต่ละท่อปลูก เพื่อให้เห็นว่าความสนใจนั่นอยากปลูกอยากดูแลจริงจังขนาดไหน และโจทย์ครูยังฝากให้แต่ละไปสืบค้นหาสรรพคุณของผักที่เตรียมนำลงปลูกอีกด้วย ก่อนจะบันทึกผลลงในสมุดเล่มเล็ก
    ก่อนที่บางคนสะสางงานเสร็จเรียบร้อยหมดแล้ว จึงลงมือทำสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์โดยที่เด็กๆ สร้างชิ้นงานผ่านหลากหลายเครื่องมือคิด พร้อมนำเสนอความเข้าใจของงานทุกครั้ง

    ตอบลบ
  2. วิเคราะห์สรุปดาห์ ม.1 Week2

    แก่นเรื่องในการเรียนรู้วิชาProblem-based learning (PBL) ในสัปดาห์ที่ 2 นี้ (พี่มายด์)
    - ตั้งชื่อหัวข้อโครงงาน
    - วิเคราะห์สิ่งที่รู้แล้วและอยากรู้เกี่ยวกับหัวข้อโครงงาน
    - ออกแบบปฏิทินการเรียนรู้
    - สรุป Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนการเรียนรู้

    ทักษะที่เกิดขึ้น ครูวิเคราะห์จากกิจกรรมการเรียนรู้รายสัปดาห์ของนักเรียน
    ทักษะชีวิต : พี่มายด์สามารถเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างเหมาะสม เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองทำงานกลุ่ม
    ทักษะการเรียนรู้ : พี่มายด์สามารถเรียนรู้และเชื่อมโยงเรื่องการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
    ทักษะการอยู่ร่วมกัน : พี่มายด์สามารถทำงานร่วมกับเพื่อนๆ ปรึกษาเลือกหัวข้อหน่วยการเรียนรู้และช่วยเหลือซึ่งกันและกันในขณะที่ทำงาน
    ทักษะการสื่อสาร : พี่มายด์สามารถอธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มศึกษาเกี่ยวกับการเสนอชื่อหัวข้อหน่วย
    คุณลักษณะ : นักเรียนทุกคนมีความรับผิดชอบต่อภาระงานที่ได้รับมอบหมาย ให้ความร่วมมือในการออกแบบวางแผนการเรียนรู้เป็นอย่างดี

    ตอบลบ